ปูติ แปลว่าเน่า ทีใช้บูติ์ในโคลงนี้ไม่คิดจะให้เป็นที่เข้าใจว่า บูด คำไทยมาจากศัพท์นี้. ได้ยินว่าเป็นคำซึ่งคนในท้องที่บอกเล่ากันต่อ ๆ มาว่าสมมุกนั้นเดิมเป็นเกาะหิน ไม่มีต้นไม้เลย หินมีสีต่าง ๆ ถูกแสงแดดส่องดูแต่ไกลเห็นเป็นเลื่อมเหมือนหอยมุก. ที่แหลมสิงห์ปากอ่าวจันทบุรีมีหินขาวก้อนหนึ่ง อยู่น่าเขาที่ยื่นออกมาเป็นแหลม หินใหญ่ก้อนนั้นให้ชื่อแก่แหลม เพราะมีรูปคล้ายสิงโตหมอบ ดูจากเรือในทเลเห็นขาวโพลนอยู่ หินก้อนอื่น ๆ ดำทั้งนั้น แต่สิงห์ศิลาขาวตัวนั้นถ้าดูไม่เป็นก็ไม่เห็น.
ปราธีนแปลว่าอิงอยู่กับผู้อื่น หรืออาไศรยผู้อื่น ฝรั่งแปลว่า dependence คือความต้องพึ่งผู้อื่น หรือธำรงอยู่ใต้ความเป็นใหญ่ของผู้อื่น. เมืองสิงคโปร์ (สิงหปุร) ไทยเคยเรียกเมืองใหม่ เมืองบีนังไทยเรียกเกาะหมาก. ภาษิตไทยเก่าว่า ไม่ไว้ใจทางไม่วางใจคน หรือ อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน. ศึกสองด้านที่สำเร็จไปในตอนนั้น คือทัพหลวงของพม่าที่มาทางลาดหญ้าด้านหนึ่ง ทัพที่มาทางด่านเจ้าขว้าวด้านหนึ่ง ที่ว่ายังเหลืออีกสามด้าน คือที่มาทางปักใต้ด้านหนึ่ง ฝ่ายเหนือสองด้าน.
สามกรุงเขียนพระนามเอกาทศรถอย่างที่พระจอมเกล้าฯ ทรงเขียนในมหาสมณศาส์น. ๑๒๒๕ เล่ม ๑ น่า ๑๐ ๑๑ ๑๙ ใช้ ถ สกด แต่ในเล่มเดียวกันน่า ๑๐๙ เปลี่ยนไปเป็น ฐ สกด หนังสือที่หอพระสมุดพิมพ์ต่อ ๆ มาก็ใช้ ถ บ้าง ฐ บ้าง เห็นได้ในประชุมพงษาวดารภาค ๑ แลพระราชพงษาวดารที่เรียกฉบับพระราชหัตถ์เลขา เป็นต้น. โคลงในบทนี้ที่ว่า “เวียงมอญนครม่านต้อง แตกสลาย” นั้น ก็เพราะหงษาวดีเป็นเมืองมอญ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของพม่า อนึ่งเมื่อหงษาวดีแตกแล้วก็มิได้เรียกเจ้าแผ่นดินพม่าว่าพระเจ้าหงษาวดีอีกเลย. ควรจะเล่าไว้ให้ทราบกันเสียหน่อย เพื่อไม่ให้ผู้อ่านรุ่นหลังๆ เข้าใจผิด ข้าพเจ้าเริ่มแต่งสามกรุงเมื่อตาเป็นต้อกระจกทั้งสองข้าง แพทย์ยังไม่ได้ช่วยให้ใช้จักษุได้ แต่แต่งจบเมื่อใช้แว่นตาได้ข้างหนึ่งแล้ว.
รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน
“อนึ่ง นายแสงมีความจงรักษภักดีต่อใต้ลอองธุลี ฯ ได้ทุูลเกล้า ฯ ถวายหนังสือลับให้ทรงพระราชดำริหรักษาพระองค์รู้กิจการ แล้วตัวก็ฝ่ามาให้ใช้สอยกรากกรำทำราชการอยู่ในใต้ลอองธุลี ฯ หาได้รักกายรักชีวิตของตนไม่ มีความชอบ ขอพระราชทานตั้งให้นายแสงเป็นพระยาทิพโกษา พระราชทานเครื่องยศโดยถานาศักดิ. คำว่าค้าเศอกนั้น สมเด็จพระปรมานุชิตจะได้ทรงหมายว่าไปทำศึกหรือซื้อขายศึก ก็แล้วแต่ผู้อ่านในปัจจุบันจะเดาพระมติของท่าน แต่ในสามกรุงนี้ข้าพเจ้าใช้ค้าศึก หมายความว่าไปทำศึก เหมือนดังใช้แต่งแง่ หมายความว่าแต่งตัวฉนั้น. อันที่จริงระบอบที่อำนาจสิทธิ์ขาดตกอยู่กับพระเจ้าแผ่นดินพระองคเดียวก็นักเนื่องเข้าว่าเป็นเอกาธิปัตย์ แต่มีศัพท์ราชาธิปัตย์อยู่อีกศัพท์หนึ่ง ซึ่งแปลว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นดิกเตเตอร์ก็ได้ ว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นกษัตรรัฐธรรมนูญก็ได้ ในโคลงนี้ผู้แต่งใช้เอกาธิปัตย์ หมายความว่าดิกเตเตอร์ชิป. ข้าพเจ้าพลิกดิกชันรีเล่มเดียวกันหาคำอีกคำหนึ่ง คือ ดิกเตเตอร์ชิป dictatorship ว่า เขาจะให้คำสํสกฤตว่ากระไร พบศัพท์เขาใช้ไว้ว่า เอกาธิปตฺยํ แปลว่าอำนาจปกครองสิทธิ์ขาดตกอยู่กับคน ๆ เดียว จึ่งเก็บมาใช้ในโคลงบทต่อลงไป แลมีคำอังกฤษดิกเตเตอร์ชิปอยู่ในโคลงอีกบทหนึ่งด้วย. ในพระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงเขียนไว้ว่า ทรงกราบพระพุทธรูปแล้วก็ถวายบังคมพระบรมเชษฐา จึ่งเข้าใจกันว่าพระพุทธยอดฟ้าคงจะได้เสด็จไปส่งพระราชอนุชาที่วังน่า. ศรีสนมในหนังสือนี้เป็นตัวสมมติ ไม่ใช่นางใดที่มีชื่อในพงษาวดารหรือในหนังสือไหน นิราศก็แต่งใหม่หมด ไม่ใช่ขุนหลวงสุริยามรินทร์ทรงแต่งไว้ เป็นแต่เพียงสมมติว่าทรงแต่งเท่านั้น ผู้อ่านอย่าพาซื่อหลงเชื่อไปว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของปัจฉิมกษัตร์ครองพระนครศรีอยุธยา.
เจ้าพระยาจักรีในตอนตีเชียงใหม่ครั้งหลัง คือพระพุทธยอดฟ้า ทรงบรรดาศักดิ์นั้นตั้งแต่นี้ไปจนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึก. ศึกพม่าที่บางกุ้งในปีกุญ ๒๓๑๐ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยังเป็นพระมหามนตรี. โคลงบทนี้เป็นปฤษณาแก่ผู้ไม่เคยอ่านพงษาวดารหรืออ่านแล้วไม่ได้จำไว้ จึงน่าจะแปลไว้สักหน่อย วรรค ๖ แห่งคำขับของศรีสนมว่า “มั่นสมัคเยาวมาลย์สมานจิต” มีคำ เยาวมาลย์ ที่ถูกท้วงว่าควรแก้เป็น สังวาลย์ จึ่งจะชอบ. เราเขียนหนังสือไทยธรรมดาไม่มีจุดใต้ตัว ส คำว่า สฺมร กับสมร จึ่งปนกัน แต่ในความในโคลงย่อมบ่งอยู่แล้วว่าพูดถึงรักหรือรบ. สงครามกรุงเก่าก่อนสมัยเตลงพ่ายเป็นศึกกษัตร ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดินั้น พระเจ้าหงษาลิ้นดำเป็นจอมทัพมาเอง แลคราวที่เสียกรุงในแผ่นดินพระมหินทร์ก็เสียแก่ทัพกษัตร. ข้าพเจ้าสังเกตทันทีก็คือว่า มีความลำบากในเรื่องทเบียนราษฎรผู้ลงคแนน เพราะพม่าไม่มีนามสกุล ชื่อตัวก็ซ้ำกันมาก ท่วงทีเลือกตั้งใหญ่ ๆ มีคนชื่อซ้ำกันหลายสิบคนก็มี ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ความข้อนี้เมื่อข้าพเจ้าไปในตำบลอื่นๆ เขาก็เล่าเช่นเดียวกัน.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ทศบารมี ชีวิงดงามที่มาหนังสือภาษาไทยม 4 รวบรวมโดย ครูนวพร ผลภาษีโรงเรียนเลขธรรมกิตติ์วิทยาคม
เข้าออกมันก็ยืดขึ้นให้เดินตามสบาย ไม่ให้ต้องก้ม ครั้นเดินเลยไปแล้วมันก็หดกลับลงไปอย่างเก่า ทั้งนี้เพราะพระอินทร์ให้พรพระนลว่าให้เดินงาม. อัตตเหตุแปลตามปทานุกรมว่าเห็นแต่แก่ตัว อัตตหิตใช้ต่อไปข้างน่า แปลว่าประโยชน์ส่วนตัว. ภาษาไทยแต่ก่อนเรียกตุรกีว่าตุรไก่ ตุรกีปัจจุบันเรียกชื่อประเทศของตนว่า Turkiye อังกฤษเก่าเรียกว่า Turkey ก็มี Turkeye ก็มี Turky ก็มี. อีกเลย แลไม่มีคำตายใช้แทนเอกในที่ทั้งเจ็ดแห่งนั้น โคลงเอกโทษโทโทษก่อนบทนี้เป็นโคลงแบบ เพราะมีไม้เอกจำเพาะเจ็ด ไม้โทจำเพาะสี่เท่านั้น แลไม่มีคำตายแทนเอกเลย.
น่า ๒๓๐ “๏ คำเก่าเล่าถ่องถ้อยทำนายพรานมล่านผลาญหงษ์มลายชีพแล้วเสือมาฆ่าพรานตายตามตก ไปเฮยใครพยัคฆ์ใครพยาธแคล้วคลาศบ้างทางไหนฯ”ก่อนที่จะกล่าวใจความแห่งโคลงบทนี้ ควรจะแปลศัพท์แปลกตา ๒ ศัพท์ก่อน คือ มล่าน ใช้อย่างเดียวกับมลาน แปลว่าลนลานเป็นต้น อีกศัพท์หนึ่งคือ พฺยาธ แปลว่าพราน. ประเทศทุกครั้งมีความชอบมาก ขอพระราชทานตั้งสมเด็จพระเจ้าหลานเธอให้เป็นกรมหลวงธิเบศบดินทร กรมหลวงนรินทรรณเรศ กกรมหลวงเทพหริรักษ (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเปน) กรมหลวงจักรเจษฎา พระราชทานเครื่องยศสำหรับขัติยราชตระกูลพระราชนัดามีความชอบ. เมื่อสิ้นสมัยธนบุรีแล้ว พระพุทธยอดฟ้าทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร ก็คือเลือกท้องที่ริมแม่น้ำใหญ่ไม่ไกลทเล ซึ่งพระเจ้าธนบุรีทรงเลือกไว้นั้นเอง ในทางยุทธศาสตร์ พระพุทธยอดฟ้าอาจทรงพระราชดำริห์อย่างไร ก็มีสันนิษฐานไว้ในหนังสืออื่นแล้ว. หอกปลายปืนเห็นจะยังไม่มีในเมืองไทย หรือเมืองพม่าสมัยกรุงธนบุรี ที่นำมาใช้ในที่นี้หมายความเป็นกลาง ๆ ไม่จำเพาะสมัยไหน ในปัจจุบันมักจะใช้คำว่าหอกปลายปืนแปลว่ากำลังทัพ เช่นที่มุสโซลินีกล่าวอวดหรือขู่เมื่อก่อนนำอิตาลีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่าอิตาลีมีหอกปลายปืนเจ็ดล้านเล่มเป็นต้น. ภาษายุโหรปโดยมากเรียกไก่งวงว่าตุรกี ไม่แน่ว่าเหตุใด นกชนิดนั้นเป็นชาวทวีปอเมริกา ไม่มีในประเทศตุรกีมาก่อน ได้มีผู้นำมาเลี้ยงในยุโหรปแลเอเซียเมื่อไม่ถึง ๕๐๐ ปีมานี้ ที่เรียกว่าตุรกีอาจเป็นด้วยเสียงร้องของมันคล้าย ตุรฺก ตุรฺก หรือมิฉนั้นบนหัวมันมีหงอนแดงเหมือนหมวกตุรกี ซึ่งแต่ก่อนชาวชาวประเทศนั้นย่อมสวมประจำหัวทุกคน แต่ในปัจจุบันเลิกใช้เสียแล้ว ใช้หมวกฝรั่งแทน.
สอบปากคำกว่า 7 ชั่วโมง “กระติก” กลับคนแรก
จะเป็นข้าราชการแทบทั้งนั้น ในเวลาที่ข้าพเจ้าพักอยู่ที่นั่นสองสามวัน คฤหบดีชาวเมืองมีงานรับรอง เชิญแขกเต็มบ้าน ดูเหมือนผู้มีหน้ามีตาในที่นั้นจะไปร่วมประชุมหมด ข้าพเจ้าได้จับกลุ่มกับเจ้าของบ้านแลแขกบางคน ถามเรื่องเผ่าพันธุ์ของเขา เขาว่าเขาเป็นเตลงทั้งนั้น ถามว่าเขาใช้ภาษาเตลงเป็นพื้นหรือ เขาว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีใครพูดเตลง ใช้ภาษาพม่ากันหมด แต่เขาว่าในปักใต้ของประเทศพม่ายังพูดภาษาเตลงกันอยู่. สันติสัญญา คือหนังสือสัญญาเลิกสงครามคืนเข้าสู่ความสงบ เรียกว่า Peace Treaty หนังสือสัญญานั้นกำหนดไว้เป็นข้อๆ ว่าฝ่ายไหนจะต้องปฏิบัติอย่างไรไปชั่วกาลนาน แต่หนังสือสัญญาย่อมเขียนไว้ในแผ่นกระดาษ ถ้าฝ่ายไหนไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หรือกลับเสียก็ดี แผ่นกระดาษนั้นก็กลายเป็น “เศษกระดาษ” ดังที่พระราชาธิราชเยอรมันทรงเรียกเมื่อเริ่มมหาสงครามครั้งโน้น หรือที่บางทีเรียกในปัจจุบันว่าสงครามโลกครั้งที่ ๑. โคลงบทนี้เป็นคำไทยล้วน (เว้นแต่ธูป) แต่อยากจะกล่าวเพิ่มเติมอีกสักหน่อยเป็นการเล่ามากกว่าการแปล คืนนั้นนอกประตูรั้วเหล็กบริเวณพระราชวัง มีราษฎรหญิงชายนั่งเรียงรายสองข้างถนนราชดำเนิน จุดธูปเทียนบูชาพระบรมศพเห็นแสงไฟเป็นแถวไป เห็นตัวคนตะคุ่ม ๆ หรือไม่เห็นเลย ได้ยินแต่เสียงร้องไห้ระงมไป. ศัพท์อังกฤษว่า โอลิกากีย์ oligarchy แปลว่าระบอบปกครองบ้านเมือง ซึ่งความสิทธิ์ขาดตกอยู่กับคนจำนวนน้อย แต่ถ้าคนจำนวนน้อยได้รับความนิยมชมชื่นของคนทั่วไป ว่าปกครองด้วยความสามารถแลโดยยุติธรรมไซร้ การปกครองก็เปลี่ยนศัพท์เรียกว่า aristocracy อันมิใช่คำพึงรังเกียจ ต่อเมื่อการปกครองถูกตำหนิทั่ว ๆ ไป จึ่งจะเรียกว่า โอลิกากีย์ ดังนี้รัฐบาลซึ่งทรงเป็นโอลิกากีย์ ไม่ใช้คำนั้นเรียกตัวเอง มักจะแฝงหาคำอื่นมาใช้. ที่พม่าทำศึกแพ้จนในที่สุดเสียประเทศนั้น แพ้แก่กองทัพอินเดียของอังกฤษ เราจะว่าเสือที่กัดพรานตามคำทำนายเก่าคือเสืออินเดียก็พอจะได้ อินเดียมีเสือมากกว่าประเทศไหน ๆ จนสมมติกันว่าเสือเป็นสัตว์เครื่องหมายของอินเดีย เหมือนที่สมมติว่าช้างเผือกเป็นสัตว์เครื่องหมายของสยามฉนั้น เสือในอินเดียชนิดที่เรียกว่า เสือบังกล่า (อังกฤษเรียก Bengal tiger) ขึ้นชื่อลือนามว่าใหญ่แลร้ายยิ่งกว่าเสือไหนๆ ทั้งสิ้น เคยเห็นในกรงมันก็เสือโคร่งนี่เอง แต่ใหญ่นัก.
- สยามเข้าสงครามครั้งนั้น ในขณะที่สองฝ่ายทำศึกยังก้ำกึ่งกันอยู่ มิใช่เข้ากับฝ่ายชนะเมื่อเห็นแล้วว่าจะชนะ พอสยามเข้าสงครามได้หน่อยหนึ่ง ทัพเยอรมันก็ตีทลวงแนวฝรั่งเศษอังกฤษเข้าไปจนเปรียบดังเคาะอยู่นอกประตูปารีศ แลฝั่งทเลฝรั่งเศษที่ตรงข้ามกับเกาะอังกฤษก็เปิดทางโล่ง เป็นเวลาน่ากลัวมาก แต่กว่าไทยจะตระเตรียมพร้อมในกรุงเทพ ฯ แลส่งกองทัพข้ามทะเลไปถึงยุโหรป ก็พอกระแสสงครามเปลี่ยน เราจึ่งได้เข้ากระบวนศึกฝ่ายชนะด้วย.
- คำว่าเตลงพ่าย เป็นคำเอาอย่างชื่อลิลิตของสมเด็จพระปรมานุชิต ที่ใช้ว่าสมัยเตลงพ่ายในที่นี้หมายถึงสมัยที่กรุงศรีอยุธยาคืนสู่อิศรภาพ ด้วยอานุภาพแห่งอดีตมหาราชสองพระองค์ ซึ่งสรรเสริญพระเกียรติไว้ในโคลงตอนนี้.
- หลวงมหาพิไชยเป็นพระจ่าแสน ขุนสิทธิรักษเป็นหลวงเทพสมบัติ หมื่นสนิทเป็นหลวงราชวงษา รองจ่าเปนหลวงอินทรมนตรี นายสุดเป็นหมื่นทิพรักษา นายสมเป็นหมื่นราชาบาล นายมูนเป็นหมื่นราชามาตย์ หมื่นสนิทเป็นพระมหามนตรี ให้พระราชทานเครื่องยศโดยถานาศักดิ.
- “อนึ่ง พระยาธรรมานั้นได้โดยเสด็จ ฯ ทำการสงครามแต่เดิมมาแล้วก็สัตยซื่อสุจริตมั่นคงต่อใต้ลอองธุลี ฯ มีความชอบมาก ครั้นจะยกไปเป็นกรมอื่นนั้นไม่ได้ ด้วยพระยาธรรมารู้ขนบราชการชัดเจนในกรมวังอยู่แล้ว ขอพระราชทานให้เลื่อนเป็นเจ้าพระยา ให้มีเฉลี่ยงคานหามสัตโทนคนใช้โดยถานาศักดิ.
- ข้าพเจ้าผูกศัพท์ว่า ปมด้อย ขึ้นเป็นคำแปลคำอังกฤษว่า interiority complicated แลได้อธิบายความหมายเลา ๆ พิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์ “ประมวญวัน” ภายหลังนั้นมาพราหมณ์สันยาสีชื่อ สวามิ สัตยานันท ปุริ ได้แต่งหนังสือภาษาไทยเล่มหนึ่งเรียกชื่อสมุด “ปมด้อย” อธิบายความหมายไว้อย่างเลอียด เป็นสมุดกว่า ๓๐๐ น่า ผู้ใคร่ทราบควรอ่านหนังสือนั้น.
ทุรชัยแปลว่าผู้อื่นเอาชนะได้ยาก ฝรั่งแปลบางทีถึงว่า inviincible คือไม่มีใครอาจเอาชนะได้. ที่เรียกว่าฝนสั่งฟ้าคือฝนตกใหญ่ปลายฤดู เมื่อตกแล้วก็มักจะไม่ตกอีกไปจนฤดูฝนน่า.
กรมหลวงบดินทร์อาจได้ทรงชำระ แลโปรดให้ขึ้นสมุดไว้ในรัชกาลที่ ๕ ตามเค้าที่เจ้านายพระองค์อื่นทรงเรียบเรียงไว้ก่อนก็เป็นได้ แต่นอกจากที่สอบศักราชดังข้างบนนี้แล้ว ก็ไม่มีทางอื่นที่จะเดา. เมื่อพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราชาหงษาวดี สี่เท้าพระคชาธาร คือเจ้ากรมพระตำรวจสี่คน หรือที่เรียกสี่ตำรวจ คือพระมหามนตรีหนึ่ง พระมหาเทพหนึ่ง หลวงพิเรนทรเทพหนึ่ง หลวงอินทรเทพหนึ่ง ส่วนสี่เท้าช้างพระที่นั่งพระเอกาทศรถนั้นคือสี่ตำรวจวังน่า หลวงพรหมธิบาลหนึ่ง หลวงอินทรธิบาลหนึ่ง ขุนพรหมสุรินทร์หนึ่ง ขุนอินทรรักษาหนึ่ง. อินทุแปลว่าจันทร์ แต่ปทานุกรมเป็นหนังสือมีประโยชน์นัก แต่บางทีก็ผิดบ้าง ในที่นี้จำต้องบอกไว้ว่าอินทุคือพระจันทร์ มิฉนั้นถ้าผู้อ่านเข้าใจว่าพระอินทร์ก็จะพิศวงว่า เหตุไฉนจึงเทียบหน้านางกับพระอินทร์ ซึ่งถ้านึกถึงเรื่องที่ถูกฤษีสาปจนมีรอยทั่วตัวก็ทุเรศมาก. ข้าพเจ้าไปเมืองพม่าในปีแรกที่มีสภาผู้แทนราษฎร ไปถึงย่างกุ้งเพอินวันเดียวกับวันเลือก ขึ้นจากเรือขับรถไปตามถนนเห็นคนเกลื่อนกลาด มีมุงกันเป็นแห่ง ๆ ที่โรงตำรวจมีคนอยู่ในที่คุมขังมาก ถามเขาว่าวันนี้มีงานอะไรกัน เขาว่าเป็นวันเลือกตั้งครั้งแรกของพม่า. น่า ๒๔๔ “๏ กีฬาม้าช้างจัดเจนมวญ”ตะบองกระบี่คลี่รำทวนท่านพร้อม”ประเพณีเจ้านายแต่ก่อน เมื่อเจริญพระชนมพรรษาพอควรแล้ว ก็ต้องทรงเรียนวิชาม้าช้างแลวิชาอาวุธต่างๆ อันควรแก่กษัตร์.
คำนี้ว่าเป็นคำตรัศของพระเจ้ากรุงธน เมื่อมีผู้ไปทูลว่าพระยาสรรค์สั่งให้เตรียมประโคมประสูติพระเจ้าลูกเธอ. แลตามตี ก็แตกกระจัดกระจายไม่เป็นส่ำ กลับไปถึงบ้านเมืองของตนได้บ้างก็ไม่เป็นกระบวนทัพ พงษาวดารพม่าจึงว่า ที่อแซหวุ่นกี้มาตีเมืองไทยครั้งนั้นแพ้ย่อยยับกลับไปไม่ได้อะไรเลย. จมูแปลว่ากองทัพ จมูบดีแปลว่าแม่ทัพ ศัพท์จมูนี้ข้าพเจ้าไม่เคยพบในหนังสือไทย เป็นคำกทัดรัดดี จึ่งขอนำมาไว้ในวรรณคดี.
คำว่า ประมวลกฎหมาย ยังไม่ได้ใช้ในแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้า เป็นคำใช้ครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงจัดให้ทำโค้ดกฎหมายใหม่ตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ คำว่าประมวลก็คือประมูล ทรงเปลี่ยนมูลเป็นมวล เพื่อจะใช้เป็นคำพิเศษใช้แปลคำอังกฤษว่า โค้ด (มูลแปลว่าราก ว่าเค้า ว่าที่ตั้งเป็นต้น) ประมวลคำใหม่นี้ต่างกับประมวญคำเก่าซึ่งแปลว่ารวม. กูบสี่น่าเป็นกูบพระราชทานเมื่อเป็นสมเด็จเจ้าพระยา รูปภาพพระราชพงษาวดารเขียนในรัชกาลที่ ๕ เขียนช้างพระที่นั่งครั้งนั้น เป็นช้างพลายผูกกูบสี่น่า ซึ่งย่อมจะเป็นสง่าในการเดินทัพ อันที่จริงพระราชพงษาวดารมิได้ระบุว่า ทรงช้างพลายหรือพังเทพลีลา แลผูกกูบชนิดใด. ระหว่างศึกหม่าทีบางกุ้งในปีกุญ กับที่สวรรคโลกในปีขาล กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงเลื่อนบรรดาศักดิ์ตั้งแต่พระมหามนตรีเป็นคั่น ๆ ขึ้นไป จนถึงเจ้าพระยาครองเมืองใหญ่น่าศึก. เมื่อพม่าสุมไฟเอาทองหุ้มพระศรีสรรเพ็ชญ์ไปหมดแล้ว องค์พระก็ชำรุด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดให้เชิญมากรุงเทพมหานคร แต่ก็เหลือที่จะปฏิสังขรณ์ให้คืนดีได้ จึงมีพระราชปุจฉาถามพระสงฆ์ว่า จะหลอมหล่อใหม่ได้ฤาไม่ พระเถรานุเถระประชุมกันถวายพระพรตอบว่าไม่ควร จึงโปรดให้ก่อพระเจดีย์หุ้มพระศรีสรรเพ็ชญ์ไว้ที่วัดพระเชตุพน. กาพย์เพลงยาวข้างบนนี้ เพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกับข้าพเจ้าท่องจำได้แทบทุกคน แต่เมื่อขอให้จดมาให้ก็เพี้ยนกันไกล ๆ บางคนจดคำตอบของชายมาให้ด้วย คำตอบของชายนั้นฝีปากก็พอทัดเทียมกัน จนบางคนเห็นว่าคนๆ เดียวกันแต่งทั้งสองฝ่าย แต่ข้าพเจ้าเห็นผีปากหญิงดีกว่า ในที่นี้จะคัดมาไว้หมดก็มากนัก ถ้าใครอยากอ่านให้ตลอดก็จงดูหนังสือวชิรญาณวิเศษ (สัปดาหะ) เล่ม ๓ น่า ๑๖๓ แลน่า ๒๐๔ ซึ่งเพี้ยงกันกับที่เพื่อนข้าพเจ้าจดมาให้หลายแห่ง ข้าพเจ้าว่าที่ข้าพเจ้าจำได้นี้ไพเราะกว่าอย่างอื่น.